องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีได้กำหนดยุทธศาสตร์
การพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไว้ 7 ยุทธศาสตร์
ได้แก่:-
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬา
3.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคมขนส่ง
4.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. ยุทธศาสตร์การป้องกันปราบปรามและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
6. ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart environment)
7. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีในแต่ละยุทธศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีจึงได้กำหนดแนวทาง/มาตรการพัฒนาแต่ละด้าน
ดังนี้
1.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
1.1 พัฒนาอาคารสถานที่สำหรับการจัดการศึกษา
1.2 พัฒนาวัสดุ ครุภัณฑ์ทางการศึกษา
1.3 พัฒนาระบบการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
1.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ
ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและศาสนา
1.5 ส่งเสริมการจัดการศึกษา
การให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและมีคุณภาพ
1.6
ขยายและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชนและท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยี
1.7 สนับสนุนและพัฒนาสถานพยาบาลให้ได้มาตรฐาน
1.8
สนับสนุนและพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ที่จำเป็น
1.9 พัฒนาระบบการให้บริการทางด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนให้ทั่วถึง
1.10
การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
1.11 พัฒนาระบบการป้องกัน /
ควบคุมโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่
2.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬา
2.1
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรีให้ได้มาตรฐานสากลและการท่องเที่ยววิถีใหม่
2.2
พัฒนาการให้บริการการท่องเที่ยวตามาตรฐานสากลสำหรับเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในประเทศและนานาชาติ
2.3 ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมของท้องถิ่น
2.4 สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสู่ระดับนานาชาติ
2.5
ส่งเสริมพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศสามารถนำไปสู่กีฬาเพื่อการอาชีพได้
2.6
ส่งเสริมพัฒนากีฬาและสนามกีฬาสำหรับรองรับกีฬาขั้นพื้นฐาน
3.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคมขนส่ง
3.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อรองรับการพัฒนายุคใหม่
3.2 พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค
3.3 พัฒนากระแสไฟฟ้าและแสงสว่าง
3.4 พัฒนาระบบทางระบายน้ำ
4.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.1 ส่งเสริมพัฒนาสถาบันการเกษตรให้เข้มแข็งยั่งยืน
4.2 ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่นให้ได้มาตรฐานสากล
4.3 เสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเป็นแหล่งการเรียนรู้
และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน
4.4
ส่งเสริมและเพิ่มโอกาสการมีงานทำและมีรายได้เพิ่ม
4.5 ส่งเสริมคุณภาพสินค้า ผลิตภัณฑ์
และความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสู่ภูมิภาคและระดับสากล
4.6 ส่งเสริมเกษตรกรรมที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้ประโยชน์
(Smart Farmer)
5. ยุทธศาสตร์การป้องกันปราบปรามและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5.1 รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็งเสริมสร้างความอบอุ่นให้ครอบครัว
5.2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น
ให้เห็นถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด
5.3 พัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร
ให้เข้มแข็งโดยผู้นำท้องถิ่นให้ความสำคัญในการป้องกัน
5.4
ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการป้องกันปราบปรามแก้ไขปัญหายาเสพติดในเชิงรุกและบูรณาการให้ทั่วถึงและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
5.5 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
6. ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart environment)
6.1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
6.2 พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
(smart environment)
6.3 พัฒนาและวางระบบชุมชนเมืองและชนบท
6.4
พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับเป็นปอดของประชาชนให้ยั่งยืน
6.5
สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมกันกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างมีประสิทธิภาพ
7. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
7.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองทางสังคมตามระบอบประชาธิปไตย
7.2 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ความเข้าใจ
มีจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมทางการเมือง
7.3
ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภาครัฐ
7.4 ส่งเสริมการบริหารเชิงรุก
โดยเน้นการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน
7.5
พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐไปสู่องค์กรยุคใหม่
7.6
ส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนางานด้านการบริการ
7.7 พัฒนาศักยภาพบุคลากร
และระบบข้อมูลเพื่อการทำงานสู่มืออาชีพภายใต้องค์กรแห่งการเรียนรู้
7.8 ยกระดับการให้บริการประชาชนและการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสู่การเป็นภาครัฐดิจิทัล
(digital government)
ตามแนวทางของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล